สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ได้ดำเนินการบริการวิชาการแก่สังคมซึ่งเป็นพันธกิจหนึ่งของสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย
โดยคณาจารย์ของสาขาวิชาได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามนโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินและจัดสรรตามแผนงานต่าง
ๆ ทั้งแผนงานตามยุทธศาสตร์ แผนงานสาขาวิชา แผนงานหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด
แผนงานพัฒนาชุมชน เป็นต้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555
เป็นต้นมา จังหวัดนนทบุรีได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ.
2554 สาขาวิชาภายใต้แผนงานโครงการหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด
และแผนงานสาขาวิชา จึงได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตรโดยร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร นักศึกษา ศิษย์เก่า
เกษตรกรและผู้นำชุมชนในการดำเนินโครงการตั้งแต่ ดังนี้
2555 โครงการฟื้นฟูพืชสวนไร่นา
โครงการต้นแบบร้านค้าชุมชน
โครงการเยาวชนต้นแบบความสุขคนนนท์
2556 โครงการค่ายเยาวชนเกษตรและสหกรณ์
จังหวัดนนทบุรี
โครงการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
2557 โครงการการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนนทบุรี
2558 โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนนทบุรี
2559 โครงการเผยแพร่ความรู้เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนนทบุรี
โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
นอกจากการดำเนินโครงการบริการวิชาแก่สังคมดังกล่าว คณาจารย์ยังได้บูรณาการกับการวิจัยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินในปี
2558
คือโครงการแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ผู้นำชุมชน และองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการค้นหาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเษตรของจังหวัดนนทบุรีและหาแนวทางพัฒนาร่วมกัน
อีกทั้งโครงการวิจัยดังกล่าวยังเป็นการบูรณาการกับการเรียนการสอนในระดับปริญญตรีกับชุดวิชาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
และระดับปริญญาโทในการอบรมเข้มเสริมประสบการณ์มหาบัณฑิตส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้โดยการปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีตามพื้นที่ที่กำหนดและนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์หาแนวทางพัฒนาต่อไปเป็นประจำทุกปี
ซึ่งในการดำเนินการแต่ละปีจะมีการประเมินผลและนำผลมาต่อยอดตามข้อเสนอแนะและเป้าหมายของคณาจารย์ในการพัฒนาการเกษตรจังหวัดนนทบุรี
นอกจากนี้ในปี 2559 โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ซึ่งเป็นระยะที่ 2 ที่สาขาวิชาได้ร่วมมือกับสาขาวิชาศิลปศาสตร์ในการอบรมให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษแก่เกษตรกร
เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว เป็นโครงการขยายเครือข่ายไปยังชุมชนบ้านเกาะเกิด
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโครงการดังกล่าวมีผู้นำ
และเกษตรกรจากจังหวัดนนทบุรีเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนบ้านเกาะเกิดซึ่งมีความโดดเด่นในการเป็นชุมชนโฮมสเตย์ให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้
และการจากการดำเนินการบริการวิชาการแก่สังคมดังกล่าวทำให้คณาจารย์ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
เกษตรกรและผู้นำชุมชนมีการพัฒนามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการประสานติดต่อกับหน่วยงาน
การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับคณาจารย์ของสาขาวิชาเป็นอย่างดี
ตัวอย่างเช่น จากโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการมากว่า 5 ปีอย่างต่อเนื่องทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การวิจัยและการเรียนการสอน ชุมชนสามารถกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรของแต่ละชุมชน
ซึ่งผู้นำเองได้นำเส้นทางดังกล่าวไปประยุกต์เป็นเส้นทางจักรยาได้ต้อนรับนักปั่นจักรยานจากชมรมนักปั่นจักรยาน
และประสานงานกับท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรีนำข้อมูลดังกล่าวไปกำหนดเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรี
และผู้แทนชุมชนอำเภอเมืองคือคุณอนงค์ สันติเพ็ชรแห่งสวนไม้มงคลแก้วกาญจนา
ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรี
จึงนับได้ว่าการบริการวิชาการแก่สังคมของสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์บรรลุทั้งการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
การบูรณาการพันธกิจ และผลการดำเนินงานมีส่วนในการพัฒนาคณาจารย์ การเรียนการสอน
ตลอดจนชุมชนและสังคม